Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Template

Powered by Blogger


โรงเรียนเมืองพลับพลาพิทยาคม ยินดีต้อนรับทุกท่าน

ระหว่างปรับปรุง

ประชาสัมพันธ์

ระหว่างปรับปรุง

Saturday, July 22, 2006

อยากผอมอยากอ้วนควรอ่าน


อยากผอมอยากอ้วนควรอ่าน

ปริมาณอาหารที่จะกล่าวดังต่อไปนี้เป็นขนาดอาหารที่ร่างกายของคนเราต้องการในแต่ละวันครับ
ถ้าอยากผอมก็ให้รับประทานน้อยกว่านี้ ในแต่ละวัน
ถ้าอยากอ้วนก็ให้รับประทานมากกว่านี้ ในแต่ละวัน
หวังว่าคงจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้างครับ เชิญอ่านได้แล้วครับท่าน


อาหาร 1,300 แคลอรี่ / วัน

มื้อเช้า
ข้าวต้ม 1 ถ้วยตวง
เนื้อสัตว์ 4 ช้อนทานข้าว
น้ำมันพืช 1.5 ช้อนชา
ผัก ข.(จำกัดปริมาณ) 0.5 ขีด
ผลไม้ 1 ส่วน

มื้อกลางวัน
ข้าวสวย 3 ทัพพี
เนื้อสัตว์ 4 ช้อนทานข้าว
น้ำมันพืช 1.5 ช้อนชา
ผัก ข.(จำกัดปริมาณ) 0.5 ขีด
ผลไม้ 1 ส่วน

มื้อเย็น
ข้าวสวย 3 ทัพพี
เนื้อสัตว์ 5 ช้อนทานข้าว
น้ำมันพืช 1.5 ช้อนชา
ผัก ข.(จำกัดปริมาณ) 1 ขีด
ผลไม้ 1 ส่วน

หมายเหตุ มื้อเช้า ถ้าไม่รับประทานข้าวต้ม จะรับประทานข้าวสวย
ให้เปลี่ยนเป็นข้าวสวยเฉพาะมื้อเช้า 2 ทัพพี

สรุป อาหาร 1,300 แคลอรี่ / วัน

ข้าวสวย 8.5 ทัพพี
(ข้าวสวย ข้าวต้ม แป้ง ขนมจีน ข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น)
เนื้อสัตว์ 13 ช้อนทานข้าว
ไขมัน 4.5 ช้อนชา
(อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงกินน้อยที่สุด เช่น เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนม แอลกอฮอล์)
ผัก ข. 2 ขีด
(ผักประเภทแป้งผักเป็นหัวให้กินแต่น้อย กินผักก้านผักใบให้มาก)
ผลไม้ 3 ส่วน
(หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่นทุเรียน ลำไย น้อยหน่า มะขามหวาน)

ที่มาของข้อมูล กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
โทร.0-4434-1310-39 ต่อ 1206 , 2705

Read More......

Saturday, July 15, 2006

ศูนย์รวมการศึกษาไทย

ทุกสิ่งทุกอย่างของการศึกษาไทย คิดว่าคุ้มค่าที่สุดถ้าท่านเข้าชม เชิญครับท่าน
http://www7.brinkster.com/prachyanun/edu/thaiedu.html

Read More......

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา

ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

Read More......

แสงเทียน ส่องธรรม นำใจ

แสงเทียน ส่องธรรม นำใจ
ผศ.สุรีย์ ไวยกุฬา ประพันธ์

วสันต์ฤดูฝนโปรยปรายสายฉ่ำฟ้า เหล่าต้นกล้าพืชน้อยใหญ่ได้สุขสม
ทั้งชาวไร่ชาวนาพารื่นรมย์ เกษตรกรรมกลับอุดมเขียวขจี
เข้าพรรษาพระภิกษุสามเณร กำหนดเกณฑ์อยู่วัดใดให้เป็นที่
หยุดจาริก ศึกษาธรรมตามคัมภีร์ ครบสามเดือน ณ วัดนี้ให้เชี่ยวชาญ
อุปสรรคการศึกษาคือแสงสว่าง ยามราตรีเลือนลางไร้สุขศานต์
ประเพณีหล่อเทียนเพื่อใช้งาน ที่ในโบสถ์ในวิหารจึงมีมา
ให้ภิกษุสามเณรได้สวดมนต์ เรียนรู้ธรรมพร่ำบ่นหมั่นศึกษา
กระจ่างแจ้งแสงสว่างส่องปัญญา ผู้มีจิตศรัทธาได้ผลบุญ
คิดหล่อเทียนแท่งใหญ่ถวายวัด ตกแต่งจัดสลักลายหมายเกื้อหนุน
ก่อความสุขเกิดปัญญาเนื้อนาบุญ เพราะเจือจุนศาสนาให้ยาวนาน
อานิสงส์แสงเทียนผู้เพียรสร้าง เกิดปัญญาส่องสว่างแผ่ไพศาล
ทำกิจใดก้าวหน้ายั่งยืนนาน เปรียบแสงเทียนงามตระการส่องชีวี

Read More......