Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Template

Powered by Blogger


โรงเรียนเมืองพลับพลาพิทยาคม ยินดีต้อนรับทุกท่าน

ระหว่างปรับปรุง

ประชาสัมพันธ์

ระหว่างปรับปรุง

Monday, December 14, 2009

สวัสดีปีใหม่ 2553 ปีเสือยิ้ม

ทั้งครอบครัวอิ่มสุขสนุกเสมอ
สิ่งร้ายร้ายอย่าให้เจอให้พ้นผ่าน
มีความสุขสดใสในการงาน
และญาติมิตรสุขสราญกันทุกคน
มีความสุขสมหวังดั่งที่คิด
สุขภาพกายและจิตช่างสดใส
มีกำลังต่อสู้ทุกเภทภัย
สมประสงค์ดังใจปีใหม่เทอญ

Read More......

Sunday, December 13, 2009

ทักทายกัน

เรียนเชิญทุกท่านร่วมทักทายกัน ครูเก่า ครูใหม่ นักเรียนเก่า
นักเรียนใหม่ จากรั้ว

โรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม
โรงเรียนหินดาดวิทยา
โรงเรียนเมืองพลับพลาพิทยาคม
โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง

ผมคิดถึงท่านทุกคนด้วยความจริงใจ


เชิญพิมพ์ข้อความของท่านลงที่ช่องขาวด้านล่างนี้ Post a Comment
เลือก Comment as: ไปที่ Anonymous
แล้วคลิ๊ก Post Comment

ขอบคุณทุกท่าน รองฯ เกชา เหมือนวาจา

Read More......

Monday, December 07, 2009

วันพ่อแห่งชาติ ธันวาคม 2552


พระราชดำรัสตอบ คำถวายพระพรชัยมงคล
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ขอขอบพระทัยและขอขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิตพรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด ด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริง ซึ่งปรารถนาดี มุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดี โดยประการต่างๆ ความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อบ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคงเป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยทุกคน ทุกฝ่ายในชาติมุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ อยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่าทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วตั้งจิตตั้งใจให้ซื่อตรง หนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนร่วมอันไพบูลย์ คือ ชาติบ้านเมืองอันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญมั่นคง ยั่งยืนไกล ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ปราศจากภัย และอำนวยสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลให้สำเร็จผลขึ้นแก่ท่านทั่วหน้ากัน"
ที่มา ครูบ้านนอกดอทคอม

Read More......

Saturday, September 19, 2009

วันเยาวชนแห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา

วันเยาวชนแห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 หลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468
และพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติขณะยังทรงพระเยาว์
นอกจากนี้ยังได้มีการส่งเสริมให้เยาวชนที่กระจายกันทั่วประเทศ ได้ตระหนักว่าเยาวชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีค่านิยมที่ถูกต้อง ภูมิใจและหวงแหนและอนุรักษ์ไว้ซึ่งความเป็นไทย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย รู้จักการอดออมและประหยัดรวมทั้งการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
นอกจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนของชาติเป็นทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพ และสถาบันทีมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการพัฒนา คือ สถาบันครอบครัว ซึ่งหากผู้ปกครองมีความเข้าใจ เอาใจใส่ ดูแล ทนุถนอม ให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนที่อยู่ในความปกครองอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะมีส่วนเป็นอย่างมากในการที่จะนำพาเยาวชนให้เป็นบุคคลที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม ซึ่งจะพาประเทศชาติให้เจริญรุงเรืองต่อไปในภายภาคหน้า

เป้าหมายของวันสำคัญมี 3 ประการ คือ
1. เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุ 15 - 25 ปี ได้ตระหนักนึกความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ
2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านคุณภาพคุณธรรม
3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเยาวชนแห่งชาติ
1. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ความสำคัญ หน้าที่ ของเยาวชนเพื่อให้เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักและเข้าใจ
2. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมสาธารณประโยชน์กิจการเพื่อการกุศล กิจกรรมในชุมชน ฯลฯ
แหล่งอ้างอิง 1. ธนากิต. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.

Read More......

Tuesday, September 01, 2009

คลื่นสมองของท่านเป็นเช่นไร

ผลจากภาวะสมองปิด คลื่นสมองสูง
กระวนกระวายไม่อยู่นิ่ง
หงุดหงิด โกรธง่าย ไร้พลัง
ขาดสมาธิ ขาดแรงจูงใจ ตัดสินใจยาก
เหนื่อยหน่ายเลื่อนลอย
ร่างกายเสียสมดุล

ผลจากภาวะคลื่นสมองต่ำ

ผ่อนคลาย อิ่มเอม มีความสุข ภูมิต้านทานเพิ่ม
เรียนรู้ได้ดี จดจำได้นาน เกิดจินตนาการ
เกิดความคิดสร้างสรรค์
ญาณปัญญาผุด
จิตใต้สำนึกเปิด
วิเชียร ไชยบัง (2551 : 56)

คลื่นสมองจะต่ำก็ต่อเมื่อ เราทำบวก พูดทางบวก คิดทางบวก นั่งสมาธิ มีสมาธิ

Read More......

พฤติกรรมบวก

ลองทำดูครับ

จริง ๆ แล้ว
ยิ้ม ชม และการแสดงความรัก ไม่ต้องใช้เงิน
ไม่ต้องเขียนแผน ไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ไม่เกี่ยวกับอาคารเรียนสวย ๆ
สามารถทำได้ทุกที่และจะได้ผลออกมาดีเสมอ
ที่สำคัญยังทำได้โดยไม่จำกัดโควตา

วิเชียร ไชยบัง (2551 : 56)

Read More......

Monday, August 31, 2009

8 คุณธรรมพื้นฐาน

8 คุณธรรมพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้ สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้น เพื่อพัฒนาเยาวชน ให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรม “8 คุณธรรมพื้นฐาน” ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย
1.ขยัน 2.ประหยัด 3.ซื่อสัตย์ 4.มีวินัย 5.สุภาพ 6.สะอาด 7.สามัคคี 8.มีน้ำใจ

1. ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ
ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูก ที่ควรเป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำอย่างจริงจัง

2. ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย - รายออม ของตนเองอยู่เสมอ

3. ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ
ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

4. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม
ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจ

5. สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาท ที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ
ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพ และกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสม ตามวัฒนธรรมไทย

6. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ

7. สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาวิวาท ไม่เอารัด เอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความ มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื่อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่น ต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

8. มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือ เรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่นและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ให้เกิดขึ้นในชุมชน

Read More......

ประวัตินายกรัฐมนตรี


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี

วันเข้ารับตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันที่เกิด/สถานที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507
สถานภาพ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ มีบุตรจำนวน 2 คน 1.นางสาวปราง เวชชาชีวะ 2.นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์
มัธยมศึกษา : โรงเรียนอีตัน ประเทศอังกฤษ
ปริญญาตรี : สาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ : สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโท : สาขาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน
ปี 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 (สาธร, ยานนาวา, บางคอแหลม พ.ศ.2535/1, 2535/2) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2538 และปี 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 (ดินแดน, ห้วยขวาง, พระโขนง, คลองตัน) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2544 และ ปี 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2550 (23 ธ.ค.50)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วนกลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2535-2537 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี 2537-2538 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ปี 2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ - กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน -กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวง ราชการ - กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ - กำกับสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปี 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ปี 2542 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2548 – 23 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ปี 2548 - ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
27 กุมภาพันธ์ 2551 -16 ธันวาคม 2551ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
17 ธันวาคม 2551 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ปี 2541
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ปี 2542

Read More......

กรณีละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ

กรณีละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีแนวการพิจารณาโทษดังนี้

1.ละทิ้งหรือทอดทิ้งชั่วโมงสอน หรือเวรยาม

1.1 ละทิ้งหรือทอดทิ้งชั่วโมงสอน ระดับโทษปลดออก, ลดขั้นเงินเดือน, ตัดเงินเดือนหรือภาคทัณฑ์ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
1.2 ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่เวรประจำวัน หรือเวรรักษาการณ์ ระดับโทษปลดออก, ลดขั้นเงินเดือน, ตัดเงินเดือนหรือภาคทัณฑ์ ตามความร้ายแรงแห่งกรณี

2.ละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน

2.1 เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ระดับโทษปลดออก
2.2 ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
2.2.1 ละทิ้งไม่เกิน 3 วัน ระดับโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
2.2.2 ละทิ้งเกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 5 วัน ระดับโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน
2.2.3 ละทิ้งเกิน 5 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน ระดับโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน
2.2.4 ละทิ้งเกิน 10 วัน แต่ไม่เกิน 15 วัน ระดับโทษลดขั้นเงินเดือน
กรณีตาม 2.2.1-2.2.4 ให้คำนึงถึงความร้ายแรงแห่งกรณีด้วย

3.ละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน

3.1 เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ระดับโทษไล่ออกหรือปลดออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
3.2 ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 3.2.1 ไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ระดับโทษไล่ออก ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ นร 0205/ว 234 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2536
3.2.2 กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีก ระดับโทษไล่ออกหรือปลดออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี
3.2.3 ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน เป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยมีพฤติกรรมอันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ระดับโทษปลดออก

3.2.4 ละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่ติดต่อกัน
3.2.4.1 เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ระดับโทษปลดออก
3.2.4.2 ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ระดับโทษลดขั้นเงินเดือน สำหรับแนวทางพิจารณาโทษข้าราชการครูกระทำผิดวินัย กรณีอื่นๆ จะได้นำมาลงในสถานี ก.ค.ศ.ในโอกาสต่อไป

ที่มา มติชนรายวัน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11496 หน้า 22

Read More......

Monday, August 24, 2009

ประวัติผู้จัดทำเว็บ

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายเกชา เหมือนวาจา
เกิดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2512
บิดาชื่อ นายทวิช  เหมือนวาจา  ถึงแก่กรรม

มารดาชื่อ นางจริยา  เหมือนวาจา  มีชีวิตอยู่อาชีพค้าขาย
สถานที่เกิด อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
ไปเจริญเติบโตที่ นิคมอำเภอบ้านกรวด เป็นวัยรุ่นที่อำเภอลำปลายมาศ วัยทำงานที่จังหวัดนครราชสีมา
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 999/21 หมู่ 1 ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนคราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

สมรสกับนางสมลักษณ์  เหมือนวาจา  ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2536 อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนกระเบื้องนอกพิทยาคม อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา 30270
พ.ศ. 2543 อาจารย์ 1 ระดับ 5 โรงเรียนหินดาดวิทยา อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240
พ.ศ. 2547 อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนหินดาดวิทยา อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240
พ.ศ. 2550   19 กรกฎาคม  รองผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนเมืองพลับพลาพิทยาคม อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 30240
พ.ศ. 2552   1 ธันวาคม  รองผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา 30230
พ.ศ.2553   9 กรกฎาคม  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไทรออ วิทฐานะ ชำนาญการ อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ.2555   1 มีนาคม  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทองหลาง วิทยฐานะ ชำนาญการ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ณ ปัจจุบัน

ประวัติการศึกษา

ก่อนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เคยเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ต่อไปนี้(ย้ายตามครอบครัว)
ชั้นเด็กเล็ก ร.ร.นิคมสร้างตนเอง 1 อำเภอบ้านกรวด
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร.ร.นิคมสร้างตนเอง 1 อำเภอบ้านกรวด , ร.ร.วัดกระทิง อำเภอลำปลายมาศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ร.ร.บ้านหนองกี่ อำเภอหนองกี่ , ร.ร.นิคมสร้างตนเอง 1 อำเภอบ้านกรวด
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร.ร.นิคมสร้างตนเอง 1 อำเภอบ้านกรวด
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร.ร.ลำปลายมาศผดุงวิทยา จนจบ ป.6
พ.ศ. 2524 ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลำปลายมาศผดุงวิทยา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. 2530 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. 2533 ระดับอนุปริญญา วิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชา อิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. 2535 ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา อุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2550 ระดับปริญญาโท ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Read More......