Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Template

Powered by Blogger


โรงเรียนเมืองพลับพลาพิทยาคม ยินดีต้อนรับทุกท่าน

ระหว่างปรับปรุง

ประชาสัมพันธ์

ระหว่างปรับปรุง

Saturday, June 09, 2012

พิธีการไหว้ครู ในสถานศึกษา

          เดือนมิถุนายนวนเวียนมาถึงอีกครั้ง บรรดานักเรียนทั้งหลายคงจำกันได้ดีว่า วันพฤหัสบดีสองของเดือนมิถุนายน จะเป็นวันไหว้ครู ซึ่งตามโรงเรียนต่าง ๆ ก็จะมีพิธีการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์.... ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับการไหว้ครูแบบดั้งเดิมในสมัยโบราณ ... ส่วนจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันหรือไม่ อย่างไรนั้นลองไปอ่านดูกันเลย… แต่ก่อนอื่น ผอ. จะพาไปทำความรู้จักถึงความหมายของ วันไหว้ครู รวมทั้งที่ไปที่มาของคำว่า "ครู" กันก่อนน่ะครับ


          "ครู" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

          ด้วยเหตุนี้เอง "การบูชาครู" หรือ "การไหว้ครู" จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต

          ในความหมายของ "การไหว้ครู" ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่า ตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าแน่นอน

จุดประสงค์พิธีไหว้ครู

          1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
          2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
          3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
         4. เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
          5. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู

          1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
          2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
          3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
          4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
          5. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย

การเตรียมพานไหว้ครู

           สมัยก่อน ครูประจำชั้นของแต่ละห้องจะคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีและมีมารยาทเรียบร้อย ผู้ชายหนึ่งคนและผู้หญิงหนึ่งคนเป็นตัวแทนนำพานดอกไม้ไปไหว้ครู และในเย็นวันพุธจะมีการแบ่งหน้าที่กันว่า ในเช้าวันพฤหัสบดี นักเรียนคนใดจะต้องนำอะไรมาโรงเรียนบ้าง เช่น บางคนมีพานเงินหรือพานแก้วก็จะเป็นคนเอาพานมา บางคนเอาทราย หรือดินเหนียวมาใส่พานเพื่อปักดอกไม้ บางคนต้องเอาธูปเทียนมา ส่วนนักเรียนที่เหลือให้ไปช่วยกันหาดอกไม้มา โดยมีดอกไม้ที่กำหนด คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม และดอกไม้อื่น ๆ เป็นต้น

          ตอนเช้าตรู่ วันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันไหว้ครู เด็ก ๆ จะไปโรงเรียนเช้าเป็นพิเศษ เพื่อไปช่วยกันจัดพานดอกไม้ ซึ่งอาจมีการปัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบบ้าน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขือ โดยที่พานดอกไม้นี้เด็กนักเรียนหญิงจะเป็นคนถือ ส่วนเด็กผู้ชายจะถือธูปเทียนและช่อดอกไม้ ( ช่อดอกไม้หมายถึงดอกไม้ที่หาได้แล้วเอามัดมารวมกัน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขืออีกเช่นกัน)

          จะเห็นว่า พิธีไหว้ครูแต่โบราณไม่มีพิธีรีตรองมากนัก แต่มีความหมายแฝงไว้มากมาย คนโบราณเป็นนักคิดจะทำอะไรก็มักจะผูกเป็นปริศนาที่ลึกซึ้งเอาไว้เสมอ ในพิธีไหว้ครูก็เช่นเดียวกันเครื่องสักการะที่ใช้ในการไหว้ครูนั้น นอกจากธูป เทียน แล้วยังมีข้าวตอก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม และหญ้าแพรก ซึ่งเป็นของหาง่ายและมีความหมาย

ความหมายของดอกไม้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการไหว้ครู

          ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก
          หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง
          ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
          ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม

วันไหว้ครู

          สำหรับการไหว้ครูในปัจจุบันตามโรงเรียนต่าง ๆ มักจะเลือกวันในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เพื่อจัดพิธีไหว้ครู ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตามสะดวกของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งความต่างของวันไหว้ครูในยุคนี้ เราจะสังเกตเห็นว่า เครื่องสักการะที่นักเรียนนำมาไหว้ครูนั้นนับวันจะหมดความหมายลงไปทุกที

          นักเรียนส่วนใหญ่มักซื้อดอกไม้ที่สวยงามจากตลาดแทนการใช้เครื่องสักการะที่มีความหมายซึ่งใช้กันมาแต่โบราณ และมักไม่ใช้ความสามารถของตนในการจัดพานเครื่องสักการะครูส่วนใหญ่จะจ้างผู้มีฝีมือในทางด้านนี้ทำให้แบบสำเร็จรูป

          ถ้าหากเราจะรณรงค์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของการไหว้ครูอย่างแท้จริง โดยร่วมแรงร่วมใจกันจัดพาน ใช้ดอกมะเขือ หญ้าแพรกเป็นสื่อความหมายก็น่าจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย เพราะการปลูกมะเขือและหญ้าแพรกนั้นง่ายกว่าและประหยัดกว่าการซื้อดอกไม้อื่น ๆ มากมายนัก

           ว่าแต่วันครูปีนี้ ชวนเพื่อน ๆ มาจัดพานไปไหว้คุณครู เช่นครั้งวันวานกันมั่งดีกว่าไหม เพราะการทำพานไว้ครูเอง นอกจากจะให้คุณค่าทางจิตใจแล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกับเพื่อน ๆ นักเรียนอีกด้วย...

ขอขอบคุณข้อมูลจากกระปุกดอทคอม

Read More......

Friday, June 08, 2012

แหล่งเรียนรู้ในอาคารเรียน

แหล่งเรียนรู้ในอาคารเรียนเพื่อส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้
สำหรับทุกคน













Read More......

ดื่มนมก่อนเข้าเรียน

ดื่มนมก่อนเข้าเรียนสุขภาพจะได้แข็งแรง




Read More......

ส่งเสริมการจัดการเรียนด้านเทคโนโลยี

ครูวาชินี  บุญญพาพงษ์ จัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนชั้น ป.1 ถึง ป.3
เอาจริงเอาจังขนาดนี้โตขึ้นเก่งแน่เลย








Read More......

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

ครูษมาวดี  นิลประทีปปรีชา ครูจิตอาสาของเรา จัดกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนชั้นปฐมวัย
นักเรียนชั้นอนุบาลก็ไม่เบาน่ะขยันน่าดูเลย


ผอ.ถามว่าปั้นอะไรอยู่ครับ 
นักเรียนก่อนเกณฑ์ บอกว่าปั้นเป็ดออกไข่
แบบว่าชาวบ้านทองหลาง มีอาชีพเลี้ยงเป็ดไข่เยอะมากครับ
ผมซื้อมารับประทาน ไข่แดงสวยมากจริง ๆ ทำไข่ดาวอร่อยดีครับ


 หนูทำเสร็จแล้วค่ะคุณครู
นี่ เขาต้องวาดแบบนี้

Read More......

กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

ครูพรทิพย์  แก่นพะเนาว์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้นักเรียน ก่อนเข้าเรียนในภาคเช้า
นักเรียนให้ความสนใจและขยันอ่านมาก อ่านเสร็จแล้วก็ไปอ่านให้ครูฟังอีกรอบ
นักเรียนทุกคนสุดยอดไปเลย







Read More......