Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Template

Powered by Blogger


โรงเรียนเมืองพลับพลาพิทยาคม ยินดีต้อนรับทุกท่าน

ระหว่างปรับปรุง

ประชาสัมพันธ์

ระหว่างปรับปรุง

Monday, August 16, 2010

ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

            ผอ.เกชา  เหมือนวาจา  นำคณะครูโรงเรียนบ้านไทรออ ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนหลักจากเลิกเรียนแล้วพวกเราได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนตอนเย็นก่อนกลับบ้าน ได้พบปะพูดคุยกับผู้ปกครองนักเรียน และความเป็นอยู่ของนักเรียนของเรา เพื่อนำเอาข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและส่งเสริมการเรียนการสอนให้นักเรียนอย่างถูกทาง









Read More......

Thursday, August 12, 2010

กิจกรรมวันแม่โรงเรียนบ้านไทรออ

            ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมกันจัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติขึ้น ณ อาคารปีบทอง โรงเรียนบ้านไทรออ












Read More......

Sunday, August 08, 2010

คำขวัญวันแม่แห่งชาติ 2553

           
"แผ่นดินนี้ แม่ของลูก ใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าว ที่เดินซ้ำ ย่ำหว่านไถ
บำรุงดิน จนอุดม สมดังใจ หวังนาไทย เป็นของไทย ไปนิรันดร์"


ขอบคุณครูบ้านนอกดอดคอม

Read More......

Thursday, August 05, 2010

กลอนวันแม่

สตรีใด……ไหนเล่า……เท่าเธอนี้

เป็นผู้ที่……ลูกทุกคน……บ่นรู้จัก

เป็นผู้ที่……มีพระคุณ……การุณนัก

เป็นผู้ที่……สร้างความรัก...สอนความดี

เป็นผู้ที่……คอยสั่งสอน……เอาใจใส่

คอยห่วงใย……เราทุกคน……จนวันนี้

เปรียบแสงทอง……สว่างล้ำ……นำชีวี

เธอคนนี้……คือ ” แม่ ”……ของเราเอง


...วันเกิดเราเป็นดั่งวันสิ้นลมแม่

เจ็บปวดแท้ดั่งน้ำตาพาจะไหล

สองมือออบโอบอุ้มแกว่งเปล

น้ำนมเลี้ยงอุ้มชูให้เติบใหญ่มา

แม่เปรียบดั่งยารักษายามป่วยไข้

แม่เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ร่มใบหนา

แม่เปรียบดั่งดวงตะวันส่องแสงมา

แม่เปรียบดั่งผ้าห่มหนาอบอุ่นกาย

เปรียบดั่งพระในบ้านชี้แนะลูก

สถิตถูกอยู่กลางใจไม่ไปไหน

กตัญญูตอนนี้ยังไม่สายไป

ก่อนแม่ไซร้หลับตาไปไม่ลืมเอย


มือน้อยน้อยแม่คอยอุ้มชู...แม่เฝ้ามองดูไม่ห่างไปไหน

แม่เฝ้าปลอบขวัญยามลูกหลับใหล...ไม่ยอมห่างไกลไปจากสายตา

มือน้อยน้อยของแม่ล้ำค่า...อุ้มชูลูกมาจากเล็กเด็กแดง

ยามลูกเติบใหญ่ด้วยน้ำพักน้ำแรง...ด้วยใจที่แกร่งของแม่ถักทอ


...หากกล่าวถึง คำนี้ คำว่าแม่

บังเกิดแก่ สายตาชน คนทั้งผอง

ก็นิ่งคิด นิ่งเงียบ นิ่งยืนมอง

ไม่มีสอง นึกถึงคุณ พระคุณมารดา

...กลั่นเม็ดเลือดเม็ดน้อยนับร้อยหยด

จนปรากฏเป็นหยดนมรสกลมกล่อม

เพื่อหล่อเลี้ยงทารกน้อยค่อยอดออม

เฝ้าถนอมฟูมฟักรักเมตตา

วันเปลี่ยนวันเดือนเปลี่ยนเดือนหมุนเคลื่อนคล้อย

จากเด็กน้อยเริ่มมีแรงเริ่มแข็งกล้า

ค่อยสอนเดินสอนทำสอนคำจาสอนปัญญาสอนวิชาสารพัน

...ทารกน้อยวันนี้เห็นเป็นผู้ใหญ่

แม่ภูมิใจในผลงานการสร้างสรรค์

ความเหน็ดเหนื่อยกายใจหายไปพลัน

เมื่อถึงวันลูกได้รับปริญญา

...วันนี้ลูกของแม่สุขถ้วนทั่ว

มีครอบครัวอยู่เย็นเป็นฝั่งฝา

แม่คนนี้ย่างเข้าสู่วัยชรารอเวลาสู่กองฟอนตอนสิ้นใจ

...วันเอยวันแม่สองตาแลหม่นหมองอยากร้องไห้

บ้านแม่อยู่วันนี้ไม่มีใครมีแต่ไก่กับหมาที่สีมอซอ

อยากฝากดาวถามฟ้าหาลูกรักใครรู้จักบอกให้ได้ไหมหนอ

แม่ชราผู้อยู่หลังยังเฝ้ารอบอกอยากขอเห็นหน้าอีกคราเอย


ที่มา http://www.zabzaa.com/event/12aug.htm

Read More......

วันแม่แห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา


               ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
                สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่า ควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่ โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรัก อันบริสุทธิ์ของแม่ ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

             นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรก ที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

            ภาษาไทย แม่

            ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า

            ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)

            ภาษาอังกฤษ mom , mam

            ภาษาโซ่ ม๋เปะ

            ภาษามุสลิม มะ

            ภาษาไทใต้คง เม

            เป็นต้น

ที่มา http://www.zabzaa.com/event/12aug.htm

Read More......

Friday, July 16, 2010

วันภาษาไทยแห่งชาติ

             วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาและความสำคัญ

             ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า

“เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒

วัตถุประสงค์

             คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ขอบคุณข้อมูลจาก  วิกิพิเดีย

Read More......

Thursday, July 01, 2010

วันเข้าพรรษา และ กิจกรรมโรงเรียนของเรา

            วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa,) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
            วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
            สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
            ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
            นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"[2] โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร[3] ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย[4]


วันเข้าพรรษา หรือ การเข้าพรรษา เป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อละเว้นสิ่งไม่ดีเพื่อพยายามประกอบความดีในช่วงนี้อีกด้วย





ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลำบาก และเป็นช่วงฤดูทำไร่นาของชาวบ้าน พระพุทธเจ้าจึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทางเพื่อประจำอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝน





เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะรวมตัวกันอธิษฐานจำพรรษาภายในวิหารหรืออุโบสถของวัด




การสอบธรรมสนามหลวงจะจัดขึ้นในช่วงหลังออกพรรษา เพื่อวัดความรู้นักธรรมที่พระสงฆ์เล่าเรียนมาตลอดพรรษากาล










สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)

              เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น




ผ้าอาบน้ำฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ (ปกติตามพระวินัย พระสงฆ์จะมีไตรจีวรได้เพียงรูปละ 1 สำรับเท่านั้น)










พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจิมเทียนพรรษาที่จะทรงอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัยและพุทธเจดีย์สถาน ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน










ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี








ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียกเทียนพรรษา,ผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน

ในปัจจุบันปรากฏว่ามีการเรียกสิ่งของที่ถวายทานเนื่องด้วยการเข้าพรรษา โดยใช้คำเรียกที่ผิดอย่างกว้างขวาง เช่น เรียกเทียนที่ถวายแก่พระสงฆ์ว่า เทียนจำพรรษา หรือเทียนจำนำพรรษา หรือเรียกผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าสบง) ที่ถวายแก่พระสงฆ์ว่าเป็นผ้าจำนำพรรษา ซึ่งทั้งสองคำข้างต้นเป็นคำเรียกที่ผิด โดยสาเหตุอาจมาจากการเรียกสับสนกับผ้าจำนำพรรษา ที่ปรากฏความในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ซึ่งผ้าจำนำพรรษานั้นเป็นผ้าจีวรที่ปกติจะถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำครบพรรษาและออกพรรษาแล้ว โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษาแต่ประการใด
            อย่างไรก็ดี คำว่าจำนำนั้น สามารถหมายถึง ประจำ หรือก็คือสิ่งของที่ถวายเป็นประจำเฉพาะการเข้าพรรษา ซึ่งก็คือ ผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษาก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การใช้คำเรียกผ้าจำนำพรรษาโดยหมายถึงผ้าอาบน้ำฝนนั้น อาจสร้างความสับสนกับผ้าจำนำพรรษาตามพระวินัยปิฎกได้ ซึ่งควรเรียกให้ถูกต้องว่า ผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก), ผ้าจำนำพรรษา (วัสสาวาสิกสาฏก) และเทียนพรรษา ตามลำดับ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพิเดีย เป็นอย่างสูง
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จาก วิกิพิเดีย ครับ

นักเรียนและครูโรงเรียนบ้านไทรออ
นำเทียนไปถวายวัดโพธิ์เทพนิมิตร และ ได้ทำความสะอาดบริเวณวัด
ในวันที่  23  กรกฎาคม  2553  เวลา  14.00 น.














Read More......

Thursday, June 17, 2010

ท่านคือผู้มีพระคุณต่อเรา


   คณะครูบุคคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านไทรออ ขอขอบพระคุณท่าน สุรสิทธิ์ คำเลิศ และชาวคณะกลุ่มฟ้าสางเป็นอย่างสูง ที่ได้มองเห็นโรงเรียนบ้านไทรออของเรา ทางโรงเรียนของเราจะมุ่งมั่นพัฒนานักเรียนทุกคนให้เขามีความสุขและสนุกในการเรียน เพื่อที่เขาจะเติบโตเป็นเยาวชนที่สมบูรณ์ของประเทศชาติต่อไป







Read More......

Tuesday, June 15, 2010

ตราสัญญลักษณ์


ตราสัญลักษณ์


“ รูปคนสามคนยืนอุ้มชูต้นไทรที่มีเพชร อยู่ในลูกโลก ”

โรงเรียนบ้านไทรออ ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3


ต้นไทร คือ โรงเรียนบ้านไทรออ เปรียบเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีรากยึดเหนี่ยวดินมั่นคงแข็งแรง มีใบที่หนาทึบให้ร่มเงาที่กว้างใหญ่และให้ความร่มเย็นแก่นักเรียน ข้าราชการครูและบุคลลากรทางการศึกษา บุคคลชุมชน ได้อาศัยร่มเงาในการจัดการศึกษาและศึกษาหาความรู้

รูปคน 3 คน คือ “ บ ว ร ” คนที่ 1 เป็นผู้ปกครองนักเรียนและบุคคลที่อยู่ในหมู่บ้านไทรออตลอดจนบุคคลในชุมชนต่าง ๆ คนที่ 2 เป็นพระที่อยู่ในวัด คนที่ 3 เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านไทรออ ซึ่งทั้ง 3 คน ได้ช่วยกันสร้างช่วยกันอุ้มชูโรงเรียนบ้านไทรออ และช่วยกันอบรมสั่งสอนนักเรียนด้วยความรักและความเมตตา

รูปเพชร คือ นักเรียนของโรงเรียนบ้านไทรออที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจาก “ บ ว ร ” ให้เป็นเพชรเม็ดงาม เป็นคนที่ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำอนุรักษ์ ตามคำขวัญของโรงเรียนและสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข


Read More......

Saturday, June 12, 2010

สถานที่ตั้ง

     โรงเรียนบ้านไทรออ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนขนาดเล็กสุด ของอำเภอหนองหงส์ ตั้งอยู่ในกลุ่ม เสาทอง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอหนองหงส์ ทิศเหนือมีเขตติดต่อกับอำเภอห้วยแถลง และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา การคมนาคมลำบาก ไม่มีรถโดยสารประจำทางผ่าน สภาพถนนโดยทั่วไปเป็นดินลูกรัง การสัญจรไปมาไม่สะดวก ห่างจากอำเภอหนองหงส์ ประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ประมาณ 70 กิโลเมตร (อำเภอนางรอง) ถ้าเข้าโรงเรียนจากทางทิศเหนือจะห่างจากสถานีรถไฟบ้านหินดาษ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา 8 กิโลเมตร

Read More......

ประวัติความเป็นมา

     ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านมองเห็นความยากลำบากในการเดินทางไปโรงเรียนของบุตรหลาน ที่ต้องเดินทางไปโรงเรียน ณ โรงเรียนบ้านโนนเต็ง (สามัคคีวิทยา) อำเภอจักรราช จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 5 กิโลเมตร และเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะในขณะนั้นยังไม่มีถนน การเดินทางในช่วยฤดูฝนเป็นไปอย่างทุลักทุเลและพบภัยอุปสรรคนานัปการ

     ดังนั้น ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านในขณะนั้น ได้มีการปรึกษาหารือและมีมติเห็นควรจัดหาแหล่งสถานที่เล่าเรียนให้แก่บุตรหลานของตนเองขึ้นภายในหมู่บ้านโดยได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น 1 หลังในพื้นที่สาธารณะ มีเนื้อที่ 20 ไร่ พร้อมได้จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอน คิดเป็นงบประมาณ 10,100 บาท ซึ่งมิได้ใช้เงินของทางราชการแต่ประการใด
     ต่อมา ผู้นำหมู่บ้านพร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านได้ทำหนังสือเพื่อขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนไปตามลำดับ โดยมีครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองกกเป็นผู้ติดต่อประสานงานให้ และทางจังหวัดได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนบ้านไทรออ ตั้งแต่ วันที่ 14 เดือน มิถุนายน 2522 โดยได้ส่ง นายผจญ ดำรงชาติ มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และส่ง นายสุนทร แถวไธสง มาทำการสอน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 มีนักเรียนในขณะนั้น 56 คน
     ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2524 นายแพง จันทะแจ่ม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ. 2525 ได้รับ
งบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ (พิเศษ) จำนวน 2 ห้องเรียน 1 หลัง งบประมาณ 300,000 บาท เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป. 1 - 5 ในปี พ.ศ. 2526 ได้เปิดทำการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
     ปัจจุบันโรงเรียนบ้านไทรออ เปิดทำการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมี
นายเกชา เหมือนวาจา ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการมีนักเรียนทั้งหมด 30 คน ข้าราชการครู ทั้งหมด 2 คน เป็นข้าราชการครูชาย 1 คน หญิง 1 คน มีรายชื่อดังต่อไปนี้
     1. นายเอเชีย มะโรงมืด ตำแหน่งครู คศ. 2 ชำนาญการ
     2. นางเพียร จงตั้งกลาง ตำแหน่งครู คศ. 2 ชำนาญการ

หนังสือรับรองมาตรฐานการศึกษา  จาก  สมศ.  ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2552

Read More......